การศึกษาในหนูแรทที่เหนี่ยวนำให้เกิดการอักเสบที่กล้ามเนื้อหัวใจ
ด้วยการฉีด myosin 0.1 มล. เข้าที่รองอุ้งเท้า (footpad) ของหนู จากนั้นประมาณ 2 สัปดาห์
แบ่งหนูออกเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มที่ 1 เป็นกลุ่มที่ได้รับสารเคอร์คูมินจากขมิ้นชัน ขนาด 50 มก./กก./วัน และกลุ่มที่ 2 ได้รับสาร 1% gum Arabic ขนาดเท่ากัน เป็นเวลา 3 สัปดาห์
ผลการวิจัยพบว่ากลุ่มที่ได้รับสารเคอร์คูมิน สามารถลดอัตราส่วนระหว่างน้ำหนักหัวใจต่อน้ำหนักตัว
ลดจำนวนเซลล์ และพื้นที่ที่ทำให้เกิดการอักเสบ รวมทั้งลดระดับของโปรตีน (interleukin-1-beta, tumor necrosis factor-alpha, nuclear factor kappa Bp65 และ GATA-4) ที่ทำให้เกิดการอักเสบที่กล้ามเนื้อหัวใจ เมื่อเปรียบเทียบกับกลุ่มที่ได้รับ 1% gum Arabic
จากการศึกษาในครั้งนี้สรุปได้ว่า สารเคอร์คูมินจากขมิ้นชันมีฤทธิ์ที่ป้องกันการอักเสบหัวใจในหนู ที่เหนี่ยวนำให้เกิดการอักเสบที่กล้ามเนื้อหัวใจ โดยมีผลลดระดับโปรตีน(interleukin-1-beta, tumor necrosis factor-alpha, nuclear factor kappa Bp65 และ GATA-4) ที่ทำให้เกิดการอักเสบได้
ข้อมูลจาก หน่วยบริการฐานข้อมูลสมุนไพร สำนักงานข้อมูลสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
ถนนศรีอยุธยา พญาไท กทม. 10400 Tel. 0-2644-8677-91 ต่อ 5305, 5316ด้วยการฉีด myosin 0.1 มล. เข้าที่รองอุ้งเท้า (footpad) ของหนู จากนั้นประมาณ 2 สัปดาห์
แบ่งหนูออกเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มที่ 1 เป็นกลุ่มที่ได้รับสารเคอร์คูมินจากขมิ้นชัน ขนาด 50 มก./กก./วัน และกลุ่มที่ 2 ได้รับสาร 1% gum Arabic ขนาดเท่ากัน เป็นเวลา 3 สัปดาห์
ผลการวิจัยพบว่ากลุ่มที่ได้รับสารเคอร์คูมิน สามารถลดอัตราส่วนระหว่างน้ำหนักหัวใจต่อน้ำหนักตัว
ลดจำนวนเซลล์ และพื้นที่ที่ทำให้เกิดการอักเสบ รวมทั้งลดระดับของโปรตีน (interleukin-1-beta, tumor necrosis factor-alpha, nuclear factor kappa Bp65 และ GATA-4) ที่ทำให้เกิดการอักเสบที่กล้ามเนื้อหัวใจ เมื่อเปรียบเทียบกับกลุ่มที่ได้รับ 1% gum Arabic
จากการศึกษาในครั้งนี้สรุปได้ว่า สารเคอร์คูมินจากขมิ้นชันมีฤทธิ์ที่ป้องกันการอักเสบหัวใจในหนู ที่เหนี่ยวนำให้เกิดการอักเสบที่กล้ามเนื้อหัวใจ โดยมีผลลดระดับโปรตีน(interleukin-1-beta, tumor necrosis factor-alpha, nuclear factor kappa Bp65 และ GATA-4) ที่ทำให้เกิดการอักเสบได้
ข้อมูลจาก หน่วยบริการฐานข้อมูลสมุนไพร สำนักงานข้อมูลสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
ภาพประกอบจากอินเตอร์เน็ท
++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++
รศ.ดร.สมชาย ปิ่นละออ อาจารย์ประจำภาควิชาปรสิตวิทยา ในฐานะผู้วิจัยจากนักวิจัยมหาวิทยาลัยขอนแก่น (มข.) ซึ่งนำ "เคอร์คูมิน" สารสกัดบริสุทธิ์จากขมิ้นชัน มาทำการศึกษาวิจัย เรื่อง "ผลของเคอร์คูมินต่อการสร้างหลอดเลือดในโรคมะเร็งท่อน้ำดีที่สัมพันธ์กับโรคพยาธิใบไม้ตับในสัตว์ทดลอง" ภายใต้การสนับสนุนของศูนย์วิจัยพยาธิใบไม้ตับและมะเร็งท่อน้ำดี คณะแพทยศาสตร์ มข.
"เราพบว่าหนูทดลองที่กินอาหารผสมเคอร์คูมิน สามารถชะลอการเกิดมะเร็ง จำนวนหนูตายลดลง และขนาดของก้อนมะเร็งก็ลดลงได้ ขณะเดียวกัน ผลจากหลอดหลองพบว่า เคอร์คูมินมีฤทธิ์ในการฆ่าเซลล์มะเร็งท่อน้ำดีเพาะเลี้ยงจากมนุษย์ได้ด้วย" รศ.ดร.สมชาย กล่าว
ทั้งนี้ ในกระบวนการทดลองยังพบว่า สารเคอร์คูมินในขมิ้นชัน มีคุณสมบัติไม่ละลายในน้ำ ดังนั้นการดูดซึมจึงไม่ดีพอ รวมทั้งไม่สามารถคงตัวอยู่ได้นานในกระแสเลือด รศ.ดร.สมชาย จึงได้ร่วมมือกับนักวิจัยจากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย พัฒนาให้เป็น "นาโนเคอร์คูมิน" เพื่อแก้ปัญหาดังกล่าว ซึ่งอยู่ในช่วงของการศึกษาวิจัย หากได้ผลการทดลองที่ดีในอนาคตจะพัฒนานำมาใช้ในมนุษย์ต่อไป
อย่างไรก็ตาม แม้ว่านักวิจัยจะค้นพบสารเคอร์คูมิน ที่ช่วยยับยั้งโรคมะเร็งท่อน้ำดีได้ แต่สิ่งสำคัญที่จะสามารถช่วยลดจำนวนผู้ป่วยโรคมะเร็งท่อน้ำดีได้นั้น คือการให้ความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องในการป้องกันตนเอง ไม่รับประทานอาหารแบบสุกๆ ดิบ เพื่อให้ห่างไกลจากโรคพยาธิใบไม้ตับ...ต้นต่อที่จะเสี่ยงเป็นโรคร้ายอย่างมะเร็งท่อน้ำดี นั้นเอง
ข้อมูลจาก http://www.siamrath.co.th/web/?q=node/39094
ข้อมูลจาก http://www.siamrath.co.th/web/?q=node/39094