วันอังคารที่ 25 กันยายน พ.ศ. 2555

ประกาศจากองค์การอนามัยโลก


ประกาศจากองค์การอนามัยโลกเกี่ยวกับโรคเรื้อรัง 
เกี่ยวกับโรคเรื้อรัง อย่างเช่น มะเร็ง โรคปอด โรคหัวใจ และเบาหวาน
ว่าปัจจุบันมีสัดส่วนจำนวนของผู้ป่วยเข้าขั้นเป็นโรคระบาดแล้ว
และทำให้มีอัตราผู้เสียชีวิตมากกว่าโรคอื่นๆ รวมกันเสียอีก
ซึ่งในปี 2008 โรคที่ได้กล่าวมา ทำให้คน 57 ล้านต้องเสียชีวิต
ในจำนวนนี้ 2.8 ล้านคนตายเพราะโรคอ้วน
2.5 ล้านคน ตายเพราะดื่มแอลกอฮอล์มากเกินไป
และอีกร้อยละ 80 เกิดขึ้นในประเทศที่ประชากรมีรายได้ต่ำถึงปานกลางอีกด้วย
นอกจากนี้ ยังชี้ถึงสิ่งที่สมควรทำสิบประการในการรักษาสุขภาพ
ได้แก่ อาหารที่รับประทานต้องมีพลังงานเพียงพอ และมีสารอาหารเพียงพอ ปริมาณพลังงานที่ได้รับไม่ควรเกินค่าที่กำหนด 
และรับประทานอาหารที่หลากหลายให้ครบห้าหมู่โดยหลีกเลี่ยงอาหารไขมันอิ่มตัว [Saturated fat],Tranfatty acid
น้ำตาล  
ลดเกลือในอาหาร และสุรา 

รวมถึงการไม่สูบบุหรี่ในที่สาธารณะ และช่วยกันแบนโฆษณาบุหรี่ และในผู้ที่สูงอายุมากกว่า 50 ปีควรจะได้รับวิตามิน B12 เสริม หญิงตั้งครรภ์หรือวางแผนตั้งครรภ์ควรจะเสริมอาหารที่มีธาตุเหล็ก และอาหารที่มีวิตามินซีสูงเพื่อเพิ่มการดูดซึมธาตุเหล็ก 
หญิงตั้งครรภ์หรือวางแผนตั้งครรภ์ควรจะเสริมอาหารที่มีกรดโฟลิก ผู้สูงอายุที่มีผิวคล้ำหรือไม่ถูกแดดควรจะได้วิตามินดีเสริม 
ส่วนในกลุ่มคนอ้วนหรือมีน้ำหนักเกินไป มีคำแนะนำดังนี้

การควบคุมน้ำหนักจะต้องรับประทานอาหารให้พลังงานที่ได้รับและใช้ไปเกิดความสมดุล 
การลดน้ำหนักจะต้องค่อยลดพลังงานที่ได้รับจากอาหารโดยที่ไม่ขาดสารอาหาร และเพิ่มการออกกำลังกาย 
สำหรับเด็กที่มีน้ำหนักเกินจะต้องปรึกษาแพทย์ดูแล ก่อนการจำกัดอาหาร 
สำหรับคนท้องต้องควบคุมน้ำหนักอย่าให้เกิน 
สำหรับคนทั่วไปที่มีโรคจะต้องปรึกษาแพทย์ก่อนการควบคุมอาหาร 
การจัดการเรื่องน้ำหนัก

การออกกำลังกาย 
ส่งเสริมให้มีกิจกรรมให้มาก อย่านั่งๆนอนๆจะทำให้สุขภาพกาย สุขภาพใจ และการควบคุมน้ำหนักดีขึ้น

สำหรับผู้ใหญ่ ส่งเสริมให้มีกิจกรรมที่ใช้พลังงานปานกลาง มากกว่าปกติวันละ 30 นาทีทุกวันไม่ว่าจะเป็นที่ทำงาน หรือที่บ้าน
เด็กและวัยรุ่นให้ออกกำลังกายวันละ 60 นาทีทุกวัน 
ในคนท้องที่ไม่มีข้อห้ามในการออกกำลังกายให้ออกกำลังปานกลางวันละ 30นาทีทุกวัน
แต่ต้องหลีกเลี่ยงการออกกำลังที่จะเกิดอันตรายต่อการตั้งครรภ์ 

ผู้สูงอายุต้องมีกิจกรรมอย่างต่อเนื่องเพื่อลดอัตราการเสื่อมของอวัยวะ ต่าง ๆ ภายในร่างกาย
คำแนะนำในเรื่องชนิดของอาหาร 
รับประทานผักและผลไม้ให้มากโดยรับประทานน้ำผลไม้วันละ 2 แก้ว ผักวันละ 2 ถ้วย 
ให้มีการรับประทานผักและผลไม้ที่หลากหลายสับเปลี่ยนกันอยู่ตลอดเวลา 
ให้รับประทานธัญพืชวันละกำมือ เช่นถั่วต่าง เม็ดทานตะวัน เม็ดแตงโม 
ให้รับประทานนมพร่องมันเนยหรือผลิตภัณฑ์นมพร่องมันเนยวันละ 3 ถ้วย 
คำแนะนำอาหารสำหรับเด็ก
เด็กและวัยรุ่นต้องรับประทานธัญพืชบ่อยๆ
เด็กอายุ 2-8ขวบควรจะดื่มนมพร่องมันเนยวันละ 2 แก้ว
เด็กมากกว่า 9 ขวบควรดื่ม 3 แก้ว

กลุ่มอาหาร

เลือกรับประทานผักและผลไม้อย่างเพียงพอโดยพลังงานที่ได้รับต้องไม่เกินเกณฑ์
ตัวอย่างคนที่ได้รับพลังงาน 2000 กิโลแคลรอรี
จะรับผลไม้ได้ไม่เกิน ผัก 21/2ถ้วยหรือนำผลไม้ไม่เกิน 2 ถ้วย 

ให้เลือกผักและผลไม้ทั้ง 5 กลุ่มสับไปมา 
ให้รับประทานส่วนประกอบของธัญพืช หรือเมล็ดธัญพืช เช่น ข้าว อย่างน้อยวันละ 3 ส่วน 
ดื่มนมพร่องมันเนยวันละ 3 ถ้วย 
กลุ่มผักและผลไม้

ผลและผลไม้เป็นแหล่งให้สารอาหารแก่ร่างกายเป็นจำนวนมากตามตารางข้างล่าง 
การรับประทานผักและผลไม้จะทำให้ร่างกายได้รับใยอาหารอย่างเพียงพอ 
ผลและผลไม้แต่ละชนิดจะให้คุณค่าทางอาหารแตกต่างกันไป
ดังนั้นต้องสับเปลี่ยนกันไปในแต่ละอาทิตย์ แบ่งผักออกเป็น 5 ชนิด
และปริมาณที่ควรจะรับประทานในแต่ละสัปดาห์ 

ผักใบเขียว 3ถ้วยต่อสัปดาห์ 
ผักใบเหลือง 2 ถ้วยต่อสัปดาห์ 
ถั่ว 3 ถั่วต่อสัปดาห์ 
ผักพวกให้แป้ง(ผักพวกหัว) 3 ถ้วยต่อสัปดาห์ 
ผักอื่นๆ 6 1/2 ถ้วยต่อสัปดาห์ 
ถ้าปฏิบัติได้ก็จะช่วยป้องกันโรคและรักษาชีวิตให้ห่างไกลจากโรคได้

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น