ส่วนประกอบที่สำคัญในคาวาริ
กระชายดำ หรือ โสมไทย
เป็นพืชสมุนไพรที่มีการตื่นตัวในเรื่องการบริโภคมาก ในยุคปัจจุบัน
เนื่องจากว่า มีสรรพคุณที่เชื่อกันว่าเป็นยาสมุนไพรอายุวัฒนะชั้นหนึ่งของไทย มาแต่โบราณกาล
และสามารถเพิ่มพลังทางเพศให้กับผู้รับประทานได้ ซึ่งชายไทยที่เคยบริโภคต่างก็พูด
เป็นเสียงเดียวกันว่า “เด็ดจริงๆ” กระชายดำ ยังเป็นพืชสมุนไพรที่สำคัญ
ประจำเผ่าม้งและมักพกติดตัวไว้ในย่ามแทบทุกคน เพื่อใช้กินแก้ปวดเมื่อย เหนื่อยหอบ หืดหอบ
ที่สำคัญเชื่อว่าเพิ่มสมรรถภาพทางเพศได้เป็นอย่างดี และถือว่าเป็นความลับประจำเผ่ามาหลายร้อยปี
สรรพคุณของกระชายดำ
ช่วยเพิ่มสมรรถภาพทางเพศ กระตุ้นระบบประสาท แก้ปวดเมื่อย
ขับปัสสาวะ ขับลม รักษาสมดุลความดันโลหิต
ขยายหลอดเลือดหัวใจ โรคเก๊าต์ โรคกระเพาะอาหาร
รักษาระบบการย่อยอาหารให้เกิดสมดุลย์ โรคบิด
โรคเบาหวาน ลดน้ำตาลในเลือด โรคหัวใจ
สำหรับสุภาพสตรีทานแล้ว จะช่วยปรับสมดุลฮอร์โมนทางเพศ
ทำให้โลหิตไหลเวียนดีขึ้น
ผิวพรรณผุดผ่องสดใส แก้อาการตกขาว
ถ้าประจำเดือนมาไม่ปกติ ก็จะทำให้เป็นปกติ
สรรพคุณ
- บำรุงฮอร์โมนเพศชาย ทำให้ชายเหนือชาย
– กระตุ้นประสาท ทำให้กระชุ่มกระชวย
– บำรุงกำลัง
– เป็นยาอายุวัฒนะ ชลอความแก่
– ขับลม ขับปัสสาวะ
– แก้โรคกระเพาะอาหาร
– แก้ท้องอืด ท้องเฟ้อ เนื่องจากรับประทานอาหารไม่เป็นเวลา
– บำรุงเลือดสตรี แก้ตกขาว ทำให้ประจำเดือนมาเป็นปกติ
สรรพคุณของปัญจขันธ์
ต้านอนุมูลอิสระ
ลดระดับไขมันในเลือด
เสริมภูมิคุ้มกัน
ยับยั้งการเจริญของเซลล์มะเร็งบางชนิด
ยับยั้งการเกาะตัวกันของเกล็ดเลือด
ต้านอักเสบ
ลดระดับน้ำตาลในเลือดโดยมีการพบสารซาโพนิน ชื่อฟาโนไซด์
ที่มีฤทธิ์กระตุ้นการหลั่งอินซูลิน
ต้าน การเกิดแผลในกระเพาะอาหาร ในหนูที่เกิดจากการกระตุ้นด้วยการ
ให้แอลกอฮอล์ร่วม กับกรดเกลือ หรือจากยาต้านอักเสบอินโดเมทาซิน
หรือจากการกระตุ้น ให้หนูเกิดความเครียด
กระตุ้นการหลั่งไนตริกออกไซด์จากเซลล์ผนังหลอดเลือด ทำให้หลอดเลือดขยายตัว
ป้องกันการเกิดพิษต่อตับของสารที่เป็นพิษต่อตับ
เช่น พาราเซตามอล คาร์บอนเตตราคลอไรด์
รายงานการวิจัยของผักพลูคาว พบว่า
ฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาของผักพลูคาวว่า:
มีฤทธิ์ในการทำลายเซลล์มะเร็งฤทธิ์ในการ
ยับยั้งการเจริญเติบโตของเซลล์มะเร็งเม็ดเลือดขาว
ในประเทศจีนมีการใช้ผักพลูคาวเป็นส่วนประกอบในตำหรับยาผง
สำหรับรับประทานใช้ในการรักษามะเร็ง
นอกจากนั้นผักพลูคาวมีรายงานการศึกษาเกี่ยวกับฤทธิ์ในการต้านเชื้อไวรัส
ในประเทศจีนใช้พลูคาว ผสมในตำรับยาและใช้ในการป้องกันและรักษาอาการ
ของโรคที่ เกิดจากไวรัส ในไก่ ลดไข้ ไข้หวัดใหญ่
ผักพลูคาวกับการวิจัยด้านเสริมภูมิคุ้มกัน
ของคณะวิจัยของกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข
ได้ทำการศึกษาวิจัยฤทธิ์ของผักพลูคาวต่อเซลล์ในระบบภูมิ คุ้มกันของคน
ในหลอด ทดลองพบว่าสามารถกระตุ้นการแบ่งตัวของเซลล์เม็ดเลือดขาวได้
ไม่ว่าจะเป็นสรรพคุณรักษาภาวะภูมิแพ้ ภูมิไวเกิน เช่น หอบหืด
สรรพคุณในการรักษาภูมิคุ้มกันบกพร่อง
โดยเป็นส่วนผสมหนึ่งในตัวยารักษาผู้ป่วย เอดส์ผู้ป่วยมะเร็ง
หรือผู้ได้รับสารกดภูมิคุ้มกันและสรรพคุณเสริมภูมิคุ้มกัน
ผักพลูคาว นับเป็นตัวอย่าง ผักพื้นบ้านชนิดหนึ่งที่มีคุณค่าต่อการดำรงชีวิตมนุษย์
นอกจากใช้เป็นอาหารแล้ว ยังสามารถพัฒนาขึ้นมาเป็นยาที่ใช้รักษาและป้องกันโรค
ติดเชื้อได้รวมทั้งช่วยเสริมสุขภาพแก่ร่างกายด้วย
สรรพคุณทางยา ของสมุนไพรเห็ดหลินจือ
ที่ได้รับการยอมรับในการนำมารักษาโรคด้วยวิธีทางธรรมชาติ
ด้วยหลักการแห่งความสมดุลของหยินหยาง เพื่อสร้างความสมบูรณ์
แข็งแรงของร่างกายให้ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพทั้ง 3 ระบบได้แก่
1. ระบบทางเดินอาหาร
ช่วยในเรื่อง โรคกระเพาะอักเสบ ลำไส้อักเสบ ท้องผูก ตับอักเสบ
2. ระบบทางเดินหายใจ
ช่วยในเรื่อง โรคหลอดลมอักเสบ โรคหอบหืด โรคภูมิแพ้
3. ระบบไหลเวียนของโลหิต
ช่วยในเรื่อง โรคความดันโลหิต โรคหัวใจ โรคเม็ดเลือดขาวต่ำ ขจัดสารพิษในหลอดเลือด
บรรเทาอาหารปวด โรคประสาท โรคตับแข็ง โรคไตอักเสบ โรคเบาหวาน โรคมะเร็ง
พร้อมทั้งยังสามารถบรรเทาอาการของโรคอื่นๆได้
สำหรับผู้ที่มีสภาพร่างกายปกติ
ก็สามารถรับประทานเห็ดหลินจือได้เพื่อเป็นการบำรุงสมอง
เพิ่มภูมิต้านทานโรคต่างๆ บำรุงผิวพรรณ ให้เปล่งปลั่ง สดใส
ชะลอความชรา
เมื่อรับประทานเห็ดหลินจือได้ 1 วันอาจจะเกิดปฏิกริยาทางระบบขับถ่ายของร่างกายและผิวพรรณ
สิ่งนี้แสดงให้เห็นว่าสารโพลีแซคคาไรด์ในเห็ดหลินจือ ได้เริ่มขับถ่ายสารพิษที่สะสมอยู่
ในร่างกายออกมา และเมื่อรับประทานติดต่อกัน 2-4 วัน อาการต่างๆเหล่านี้จะหายไปเอง
และจะทำให้ร่างกายสดชื่นขึ้น
เหมาะสำหรับ:
ผู้ที่ต้องการบำรุงร่างกาย เช่น เด็กในวัยเรียน วัยทำงาน และผู้สูงอายุ เป็นต้น
ผู้ที่มีความดันโลหิตไม่อยู่ในเกณฑ์ปกติ
ผู้ที่มีน้ำตาลในเลือดสูง เช่นผู้ป่วยโรคเบาหวาน
ผู้ที่ไขมันในเลือดสูง
ผู้ที่มีปัญหาเกี่ยวกับโรคหัวใจ
ผู้ป่วยโรคภูมิแพ้
ผู้ป่วยโรคมะเร็ง
ผู้ป่วยที่เกี่ยวกับตับและไต
ผู้ที่ปัญหาเกี่ยวกับเลือดแข็งตัวช้า
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น